แอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50
มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่า “เมาสุรา” เท่ากับเบียร์ 8 ดีกรี จำนวน 2 ขวด (รวม
1,260 มิลลิลิตร) หรือ 4 กระป๋อง
Vectors by www.vecteezy.com
Mohammed Alamri
rawpixel
“เมาสุรา” เป็นสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุรถยนต์ ที่ผ่านมารัฐบาลรณรงค์
“เมาไม่ขับ” แต่อุบัติเหตุยังสูงอยู่ ด้วยความห่วงใยต่อผู้ใช้รถใช้ถนน คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) จึงยกระดับมาตรการหากตรวจพบผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50
มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์” ให้ถือว่า “เมาสุรา”
(จากเดิมกำหนดไว้ที่ 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)
หลายคนอาจสงสัยว่าอย่างไรจึงจะเกิน
50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลให้คำตอบว่า ถ้าดื่มเบียร์ 8 ดีกรี จำนวน 2
ขวด (รวม 1,260 มิลลิลิตร) หรือ
4 กระป๋อง จะเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แม้หลังดื่ม 2 ชั่วโมงระดับแอลกอฮอล์ยังสูงเกินกำหนด
นอกจากนี้จะขึ้นกับน้ำหนักตัวและอื่นๆ
โดยรวมแล้วให้ยึดหลักว่าไม่ดื่มเบียร์เกิน 2 ขวดหรือ 4 กระป๋อง
ข้อสำคัญคือ หากเกิดอุบัติเหตุแล้วตรวจพบว่าผู้ขับรถยนต์ที่ทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ
(ประกันภัยชั้น 1, 2, 3) มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน
จะไม่ได้รับความคุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากกรมธรรม์ประกันภัย
หมายความว่า ในส่วนของผู้ประสบภัยหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากรถยนต์คันที่ผู้ขับขี่เมายังได้รับความคุ้มครอง
โดยบริษัทประกันภัยคันที่เป็นฝ่ายผิด (เมาแล้วขับ) จะให้ความคุ้มครองชดใช้ค่าสินไหมให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินก่อน
จากนั้นจะไปเรียกคืนค่าสินไหมที่บริษัทจ่ายจากผู้ขับขี่ที่เมาอีกที
ทั้งนี้จะเมาหรือไม่
การประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ยังให้ความคุ้มครอง
ในแง่โทษปรับกับจำคุก
ถ้าเมาแล้วขับทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ คงโทษเดิมคือจำคุก 1
- 5 ปี ปรับ 20,000 - 100,000 บาท
พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต
เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสจำคุก
2 - 6 ปี ปรับ 40,000 - 120,000 บาท
พักใช้ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต
หากเมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คงโทษจำคุก 3 - 10 ปี ปรับ 60,000 - 200,000 บาทรวมทั้งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของศาลว่าจะให้ติดคุกหรือไม่
ตามพ.ร.บ.จราจรทางบกฉบับล่าสุด
ในกรณีไม่เกิดอุบัติเหตุแต่ตรวจพบว่าเมาแล้วขับ
มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับขั้นต่ำ 10,000
บาทถึง 20,000 บาท (จากเดิมปรับขั้นต่ำ 5,000
บาท) หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาต
และเพิ่มมาตรการยึดรถในชั้นศาลไม่เกิน 7 วัน
เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและผู้อื่น
เรื่องที่ต้องเสียเงินเสียทอง เรื่องที่อาจบาดเจ็บสาหัส การทำผิดกฎระเบียบต่างๆ
ทั้งหมดนี้ย้ำเตือนว่า “เมาไม่ขับ”

ต้องการคำปรึกษา สอบถามได้ที่ผม ชาญชัย
คุ้มปัญญา ที่ปรึกษาประกันวินาศภัย ทางไลน์ @7chanchai (มีเครื่องหมาย @) หรือโทร 083-0725036

------------------------
อ้างอิง :
http://www.oic.or.th/th/consumer/news/releases/87140
http://www.oic.or.th/th/consumer/news/releases/87140
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=141
https://news.thaipbs.or.th/content/259284
ความคิดเห็น
โพสต์ความคิดเห็น