นำบัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัยติดตัวไว้เสมอ
(พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน) เมื่อเกิดเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลเพียงแค่ยื่นบัตรแก่เจ้าหน้าที่
เท่านี้ก็ได้รับความคุ้มครองทันที ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
พกบัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัย :
ภาพ : ตัวอย่าง ความคุ้มครองของแผนประกันสุขภาพ
ที่มา : https://www.srikrungbroker.co.th/newsk/uploads/Page/%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%84/Standard%20PlanUpdate%2019.pdf
ภาพ : ตัวอย่าง บัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัย
Abstract vector created by macrovector - www.freepik.com
การประกันสุขภาพ คืออะไร :
คือการให้ความคุ้มครองเรื่องค่าชดเชย
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกัน ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย
จากโรคภัย หรือการเจ็บจากอุบัติเหตุ
บางแผนให้ความคุ้มครองทั้งผู้ป่วยในกับผู้ป่วยนอก
บางแผนจะคุ้มครองเฉพาะผู้ป่วยใน ฯลฯ
ผู้ป่วยใน (IPD)
คือคนไข้ที่จำต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าต้องนอนรักษาตัวหรือไม่
(ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป)
ผู้ป่วยนอก (OPD)
คือคนไข้ที่ไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล รับยากลับบ้านได้เลย
ผลประโยชน์พื้นฐานสำหรับผู้ป่วยใน :
คือ
ความคุ้มครองที่จะได้รับตามแผนหรือตามกรมธรรม์ เช่น
1.ค่าห้องและค่าอาหารกลางวัน
2.ค่าห้อง ICU
3.ค่าใช้จ่ายทั่วไปในการรักษาพยาบาล
4.ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด
5.ค่าแพทย์เยี่ยมไข้
6.ค่ารถพยาบาล
7.ค่าผ่าตัดกรณีไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
8.ค่ารักษาพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินในฐานะผู้ป่วยนอก
ยังมีผลประโยชน์หรือความคุ้มครองอื่นๆ
อีกมาก ขึ้นกับแผนและการจำแนกรายละเอียด สามารถอ่านได้จากกรมธรรม์หรือแผนความคุ้มครอง
การเรียกร้องค่าทดแทน :
![]() |
ตัวอย่าง ความคุ้มครอง (บางส่วน) ของแผนประกันสุขภาพบริษัทหนึ่ง |
มี 2 แบบ
1.แบบไม่ต้องสำรองจ่าย
ถ้าผู้เอาประกันเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่
“อยู่” ในเครือของบริษัทประกันภัย จะไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามวงเงินความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก
บางคนเรียกว่า สิทธิประกันสุขภาพ (Fax
Claim)
2.แบบต้องสำรองจ่าย
ถ้าผู้เอาประกันเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่ “ไม่อยู่” ในเครือของบริษัทประกันภัย
จะต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วส่งใบเสร็จต้นฉบับกับใบรับรองแพทย์ให้กับบริษัทประกัน
เพื่อรับเงินคืนภายใน 45 วัน
ดังนั้น
ก่อนเข้าโรงพยาบาลต้องตรวจสอบก่อนว่าเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือบริษัทประกันภัยหรือไม่
แบบไม่ต้องสำรองจ่ายมักมีเบี้ยประกันสูงกว่า มีข้อดีคือไม่ต้องมีเงินติดตัว
ไม่ต้องกังวลหากต้องเข้าโรงพยาลบาลและต้องใช้จ่ายเป็นเงินหลายหมื่นหรือเป็นแสนหรือเป็นล้าน
เพราะโรงพยาบาลจะเคลียร์เรื่องค่าใช้จ่ายกับบริษัทประกันโดยตรง
ก่อนเลือกแผน (ความคุ้มครอง) จึงต้องสอบถาม
ตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนว่าต้องสำรองจ่ายหรือไม่ วงเงินความคุ้มครองเป็นอย่างไร
ได้โรงพยาบาลตามที่ต้องการหรือไม่ และควรเลือกซื้อจากบริษัทที่สามารถต่ออายุต่อเนื่องยาวๆ
เช่น 90 หรือ 99 ปี เลือกซื้อตามที่เห็นควร
![]() |
ตัวอย่าง บัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัย |
พกบัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัย :
เมื่อทำประกันสุขภาพ บริษัทจะให้
บัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัย หน้าตาคล้ายบัตรประชาชน มีข้อมูลผู้ถือกรมธรรม์
(ผู้ซื้อหรือผู้เอาประกัน) ระบุระยะเวลาคุ้มครอง และรายละเอียดอื่นๆ
พร้อมเบอร์โทรติดต่ออย่างชัดเจน
นำบัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัยติดตัวไว้เสมอ (พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
หรือบัตรแสดงตัวอื่นๆ) เมื่อเกิดเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุต้องเข้าโรงพยาบาลเพียงแค่ยื่นบัตรแก่เจ้าหน้าที่
เท่านี้ก็ได้รับความคุ้มครองทันที ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ที่สุดคือไม่เจ็บไม่ป่วย แต่จะอุ่นใจถ้าทำประกันภัยไว้มากพอ
ต้องการคำปรึกษา สอบถามได้ที่ผม ชาญชัย คุ้มปัญญา นายหน้าประกันวินาศภัย ทางไลน์ ck09105 หรือโทร 091-0597905
---------------------------
ภาพ : ตัวอย่าง ความคุ้มครองของแผนประกันสุขภาพ
ที่มา : https://www.srikrungbroker.co.th/newsk/uploads/Page/%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%84/Standard%20PlanUpdate%2019.pdf
ภาพ : ตัวอย่าง บัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัย
ที่มา : https://1.bp.blogspot.com/-1B66659l0qw/UNKi_EIYD0I/AAAAAAAAAWg/nIfZLIghF24/s1600/healthcarecard.jpg
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น