คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 10 ชั่วโมง ทั้งเพื่อการเรียนการงาน เพื่อความบันเทิง ติดต่อเพื่อน มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย การหลอกหลวง การโกงในระบบออนไลน์
ธันวาคม 2021
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA รายงานคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 10 ชั่วโมง 36 นาที
คน Gen Z (อายุน้อยกว่า 21 ปี) ใช้สูงสุดเฉลี่ยวันละ 12 ชั่วโมง 5 นาที กลุ่ม Baby
Boomer (อายุ 57-75 ปี) ใช้น้อยที่สุดเฉลี่ยวันละ
6 ชั่วโมง 21 นาที
คนส่วนใหญ่ใช้เพื่อทำงานที่บ้าน
(Work from Home) กับเรียนออนไลน์ รองลงมาคือดูโทรทัศน์ คลิป
ดูหนัง ฟังเพลงออนไลน์ ค้นหาข้อมูลออนไลน์ อ่านข่าว บทความหรือหนังสือ
การซื้อสินค้าออนไลน์ส่วนใหญ่จะผ่านช่องทางหรือเว็บที่น่าเชื่อถือ
ปัญหาที่ผู้ซื้อมักเจอคือได้ของไม่ตรงที่สั่ง ไม่ตรงปก ผิดขนาด
ส่วนผู้ขายกังวลเรื่องชำรุด
สูญหายระหว่างการขนส่ง ค่าจัดส่งที่ค่อนข้างสูง
วิธีชำระเงินที่ใช้มากสุดคือ
แอปพลิเคชันของธนาคาร (Mobile Banking) ตามมาด้วยการชำระปลายทาง
ใช้บัตรเครดิต/บัตรเดบิต และใช้ Wallet เรื่องที่กังวลคือข้อมูลส่วนตัวอาจรั่วไหล
หลอกเอาข้อมูลการขายแบบหลอกลวง
แม้การทำงานกับเรียนที่บ้านจะมีปัญหา
หลายคนบ่น แต่โดยรวมส่วนใหญ่พอใจกับวิถีใหม่เหล่านี้ ข้อสรุปคือคนที่ใช้ใหม่ๆ
อาจมีปัญหาแต่คนไทยปรับตัวคุ้นเคยกับวิถีชีวิตดิจิทัลและทำได้ดี
ข้อมูลของ ETDA
ล่าสุดตอกย้ำข้อสรุปเดิมที่คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตมากในทุกช่วงวัย สรุปง่ายๆ
คือเฉลี่ยคนละ 10 ชั่วโมงต่อวัน ทุกคนใช้ประโยชน์ตามวัยตามความต้องการซึ่งมักจะเป็นเรื่องงานเรื่องเรียน
หาความบันเทิง ติดต่อกับเพื่อน และหาข้อมูล
ที่หลายคนเจอและกังวลคือความปลอดภัยทางไซเบอร์
ตั้งแต่เว็บหลอกเอาข้อมูล (ฟิชชิ่ง - Phishing) การล่วงละเมิดทางออนไลน์
จนถึงเรื่องง่ายๆ อย่างการโกงในการซื้อของออนไลน์ ได้ของไม่ตรงปก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดำเนินการด่วน ให้ความรู้แก่ประชาชนให้มากที่สุด
By 724ศรีกรุงประกันภัย.insure
----------------------------
อ้างอิง : ไทยโพสต์,
https://www.thaipost.net/economy-news/45988/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น